โรคร้ายทำร้ายแมว (พาโว ไข้หัดแมว)

“ไข้หัดแมว  พาโว หรือ โรคลำไส้อักเสบแมว เป็นโรคร้ายที่ต้องระมัดระวัง เพราะโรคนี้พรากชีวิตแมวทุกวัยมานับไม่ถ้วน”

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ Feline Parvo virus ที่กระจายอยู่ทั่วไป และมักเรียกว่า “โรคพาโว” หรือ “โรคหัดแมว” หรือ “โรคลำไส้อักเสบแมว” โรคนี้ติดจากแมวสู่แมว ในบทความนี้เราจะทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคหัดแมวและวิธีการป้องกันเบื้องต้น

  • การติดต่อของโรค จากแมวสู่แมว

โรคหัดแมวสามารถติดต่อจากแมวสู่แมวได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกแมวที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือยังกระตุ้นวัคซีนไม่ครบ โรคนี้สามารถถ่ายทอดผ่านน้ำลาย, สิ่งขับถ่าย, หรือ สารคัดหลั่งของแมวป่วย ดังนั้น ควรระวังไม่สัมผัสกับแมวที่สงสัย หรือเป็นโรคหัดแมว

  • อาการเด่น

โรคหัดแมวมักเริ่มต้นด้วยอาการซึมหรือไม่กินอาหาร และมีไข้ ระหว่างระยะเวลาฟักตัวของโรคที่อาจเป็นเวลา 2-7 วัน หลังจากนั้นจะเป็นช่วงแพร่กระจายเชื้อ ที่สัตว์ป่วยจะมีอาการอาเจียนและถ่ายเหลวตามมา ถ้ามีอาการรุนแรงควรรีบพบสัตวแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างเร็วที่สุดเมื่อพบว่ามีอาการหรือเข้าข่ายต้องสงสัย

  • โรคหัดแมวกับวิธีการป้องกัน

  1. วัคซีน: วัคซีนเป็นวิธีป้องกันและลดความรุนแรงของโรคได้ ควรฉีดวัคซีนให้กับแมวตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไปจนครบ 4 เดือน และกระตุ้นวัคซีนทุกปี
  2. เลี้ยงในระบบปิด: เพื่อป้องกันไม่ให้แมวติดเชื้อจากแมวอื่น ควรเลี้ยงแมวในระบบปิด และไม่ให้แมวมีโอกาสสัมผัสกับแมวที่เป็นโรคหัดแมว
  3. กักตัวแมวใหม่: หากนำแมวใหม่มาเลี้ยงร่วมกับแมวที่มีอยู่แล้ว ควรแยกเลี้ยงเพื่อคัดกรองโรคอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ และควรนำไปตรวจสุขภาพและฉีดวัคซีนให้ครบก่อนนำมาเลี้ยงร่วมกับแมวตัวอื่น
  4. ทำความสะอาดบริเวณที่เลี้ยง:ควรทำความสะอาดบริเวณที่แมวอาศัยอยู่เป็นประจำด้วยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรค
  5. แยกแมวป่วย: ควรแยกแมวที่ป่วยออกจากแมวตัวอื่นและของใช้ของแมวที่ป่วย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อระหว่างแมว
  6. หลีกเลี้ยงการจับแมวนอกบ้าน: หากไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงการจับแมวนอกบ้านเพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าแมวตัวนั้นติดโรคหัดแมวหรือไม่

สรุป

การป้องกันโรคหัดแมวเป็นสิ่งสำคัญ และเราสามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนให้กับแมวตั้งแต่เรานำมาเลี้ยงเป็นลูกแมว รวมถึงการดูแลความสะอาดของพื้นที่เลี้ยงและของใช้ของแมว เพื่อให้น้องแมวปลอดภัยจากโรคหัดแมว

 

ดังนั้น มาพาน้องแมวไปฉีดวัคซีน ที่โรงพยาบาลสัตว์ โคซี่ แอนด์ แคร์ กันเถอะ เพื่อน้องแมวที่เรารัก!

 

เขียนโดย นางสาว มะลิวัลย์ จงสมจิตต์ / 21 ตุลาคม 2566

ตรวจสอบโดย สพ.ญ วิรดี วงค์เดือน / 21 ตุลาคม 2566

เขียนเมื่อ

บทความที่น่าสนใจ

ภาวะมดลูกอักเสบ(pyometra) คือ สภาวะของมดลูกที่เกิดการอักเสบ มีของเหลวสะสมอยู่ในมดลูก ซึ่งมักพบบ่อยในสุนัขที่ยังไม่ได้ทำหมันและอายุมากขึ้น โดยอาจจะมีสา...
โรคไตในสุนัขและแมวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute Kidney Injury; AKI) โรคไตวายเฉียบพลันเป็นสภาวะที่ค่อนข้างรุนแรงและเกิดขึ้นเร็ว สาเ...