เมื่อไหร่ที่จะรู้ว่าไตวาย?

       “ไต” เป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญในร่างกายเพราะทำหน้าที่ในการกำจัดของเสียในร่างกาย รวมไปถึงช่วยปรับความสมดุลให้กับ ของเหลวและแร่ธาตุภายในร่างกาย ดังนั้นหากเกิดความเสียหายกับไตเมื่อไรอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตของน้องหมาและแมวได้ หากไม่รีบรักษา โดยหนึ่งในโรคที่เจ้าของหลาย ๆ คนมองข้ามก็คือ “โรคไตวาย” (Kidney Failure หรือ Renal  Failure) ภัยเงียบที่มักจะไม่แสดงอาการจนกว่าการทำงานของไตจะเสียหายไปแล้วมากกว่า 75% ในปัจจุบันพบว่ามีสุนัข และแมวมีปัญหาไตวายเป็นจำนวนมาก ซึ่งภาวะโรคไต ในสัตว์เลี้ยงสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ ไตวาย เฉียบพลัน และ ไตวายเรื้อรัง 

ไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney diaseas) 

       คือการที่มีความเสียหายเกิดขึ้นที่ไต จากสาเหตุใดๆก็ตาม แล้วส่งผลถึงการกรองที่ไตทำให้เกิดการคั่งของของเสียใน ร่างกาย เช่น เครียดจากการผ่าตัด, ขาดน้ำอย่างฉับพลัน, ได้รับสารพิษที่มีผลต่อไต, เสียเลือดมาก, ช็อค เป็นต้น มีความเสี่ยงที่ จะเสียชีวิตสูง ซึ่งกรณีนี้สามารถรักษาให้ไตกลับมาปกติได้ 

ไตวายเรื้อรัง(Chronic kidney disease) 

       ภาวะไตวายเรื้อรังเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในสุนัขและแมวโดยเฉพาะในตัวที่อายุมากคือการเกิดความเสียหายที่ไตทำให้ไต เสียสภาพการทำงาน และไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ภาวะไตวายเรื้อรังจะสัมพันธ์กับช่วงอายุ เพศ และสายพันธุ์ โดยสุนัขพันธุ์เล็กส่วนใหญ่จะพบได้ในช่วงอายุ 10-14 ปีและพันธุ์ใหญ่มากกว่า 7 ปีแต่ในแมวพบว่า 30% ของแมวที่อายุ มากกว่า 15 ปีจะมีภาวะโรคไตวายเรื้อรังความถี่ของโรคไตวายเรื้อรังในแมวตัวผู้และตัวเมียจะใกล้เคียงกัน และสายพันธุ์ที่มักพบบ่อยได้แก่Maine Coon, Abyssinian, Siamese, Burmese, and Russian blue 

อาการของสัตว์ที่เป็นโรคไต ✅

  1. เบื่ออาหาร กินอาหารได้น้อยลงและมีอาการซึมร่วมด้วย
  2. กินน้ำบ่อยขึ้นจนผิดปกติหรือไม่กินน้ำเลย
  3. ปัสสาวะเยอะมาก หรือไม่ปัสสาวะเลย บางครั้งอาจจะมีเลือดปนออกมาด้วย
  4. น้ำหนักตัวลดลง
  5. มีแผลในช่องปาก และมีลมหายใจที่เหม็นผิดปกติ
  6. อาเจียนและท้องเสีย บางครั้งอาจมีเลือดปนออกมาด้วย
  7. เกิดภาวะขาดน้ำ

สัตว์ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังจะประเมินจาก “อาการภายนอก” ร่วมกับการประเมิน “การทำงานของไต” จากการตรวจเลือด

การตรวจเลือด 

       ปัจจุบันสัตวแพทย์นิยมตรวจค่าไนโตรเจนจากสารยูเรียในกระแสเลือด (BUN) และค่าของเสียจากกล้ามเนื้อ  ถูกกรองออกทางไต (Creatinine) เพื่อบ่งบอกภาวะการเกิดโรคไต ซึ่ง Creatinine จะเพิ่มสูงในกระแสเลือด เมื่อหน่วยไตถูกทำลายมากกว่า 75% แต่ข้อเสียของการใช้ Creatinine ในการวินิจฉัยโรคไตวายเรื้อรังคือ  Creatinine มีความไวที่ค่อนข้างต่ำ โดยจะเริ่มเพิ่มขึ้นเมื่อไตเสียหายไปมากกว่า 75% รวมถึงการมีปัจจัย รบกวนมาจากการสลายกล้ามเนื้อและภาวะแห้งน้ำของร่างกาย ดังนั้นจึงมี Renal biomarker ตัวใหม่ที่มี ความไวและจ าเพาะมากกว่า คือ Symmetric dimethylarginine หรือ SDMA ซึ่งจะสามารถพบความ ผิดปกติในการทำงานของไตที่ลดลงตั้งแต่ 25% ซึ่งมีความไวและจำเพาะมากกว่า Creatinine ช่วยให้สัตว แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะไตวายเรื้อรังในแมวได้เร็วยิ่งขึ้น โดย International Renal Interest Society  (IRIS) ได้ทำการจัด Stage ของ CKD ออกเป็น 4 ระดับ  

 

IRIS staging of CKD (modified 2019) 

ระยะ 1: ไตทำงานปกติค่า Creatinine ในเลือด < 1.4 mg/dl 

ระยะ 2: ไตทำงานได้ประมาณ 33 % ค่า Creatinine ใน เลือดอยู่ระหว่าง 1.4 – 2.0 mg/dl 

ระยะ 3: ไตทำงานได้ประมาณ 25 % ค่า Creatinine ในเลือดอยู่ระหว่าง 2.0 – 5.0 mg/dl

ระยะ 4: ไตทำงานได้ประมาณ 10 % ค่า Creatinine ในเลือด มากกว่า 5.0 mg/dl 

 

ตารางแบ่งระดับโรคไตเรื้อรัง (CKD) จากค่า SDMA และ Creatinine สุนัข แมว 

Stage 1 SDMA(mcg/dl) < 18 < 18 

 Creatinine (mg/dl) < 1.4 < 1.6 

Stage 2 SDMA(mcg/dl) 18 – 35 18 – 25 

 Creatinine (mg/dl) 1.4 – 2.8 1.6 – 2.8 

Stage 3 SDMA(mcg/dl) 36 – 54 26 – 38 

 Creatinine (mg/dl) 2.9 – 5.0 2.9 – 5.0 

Stage 4 SDMA(mcg/dl) > 54 > 38 

 Creatinine (mg/dl) > 5.0 > 5.0

การตรวจปัสสาวะและความดันโลหิต

       นอกจากการจัดระดับของโรค CKD แล้ว ยังมีการจัดระดับย่อย (Substage) โดยการใช้ค่าความดันโลหิต และ อัตราส่วนระหว่างโปรตีนและ Creatinine ในปัสสาวะ (Urine protein-creatinine ratio; UPCR)  

       นอกจากนี้ในแต่ละระยะ จะแบ่งความรุนแรงแยกย่อยออกมาอีกได้แก่การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะโดยดู อัตราส่วนของโปรตีนและCretinine แบ่งเป็น 3 sub-stages 

  1. Non-Proteinuric ค่า UP/C น้อยกว่า 0.2
  2. Borderline Proteinuric. ค่า UP/C อยู่ระหว่าง 0.2 -0.5
  3. Proteinuric. ค่า UP/C มากกว่า 0.5

 

       ประเมินปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการทำงานของไตมากขึ้นจากระดับ “ความดันโลหิต” 1. AP0 ความดันโลหิตระหว่าง 130-150 mmHg มีความเสี่ยงที่จะทำลายเนื้อไตน้อย 2. AP1 ความดันโลหิตระหว่าง 150-160 mmHg มีความเสี่ยงที่จะทำลายเนื้อไตต่ า 3. AP2 ความดันโลหิตระหว่าง 160-180mmHg. มีความเสี่ยงที่จะทำลายเนื้อไตปานกลาง 4. AP3 ความดันโลหิตมากกว่า180 mmHg. มีความเสี่ยงที่จะทำลายเนื้อไตสูง โดยปกติการตรวจสุขภาพและตรวจเลือดเป็นประจำแนะนำอย่างน้อยทุกๆ 1 ปี ในแมวที่อายุตั้งแต่ 1 ปีถึง 6 ปี ส่วนสำหรับแมวที่มีอายุเยอะหรือเกิน 7 ปี ขึ้นไปแนะนำให้ตรวจสุขภาพและตรวจเลือดเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน

     มาตรวจสุขภาพและตรวจเลือดกับ โรงพยาบาลสัตว์โคซี่แอนด์แคร์ รู้ทันค่าไตเร็วขึ้น 2 เท่า ด้วย IDEXX SDMA ตรวจแล้วสามารถรู้ผลได้ทันที 
(ประมาณ 15 นาที หลัง เจาะเลือด) แม้ไตจะเริ่มสูญเสียการทำงานเพียง 25% ก็สามารถตรวจพบได้ 

 

 

อ้างอิง 

Evason, M. and Remillard R. 2017. Chronic kidney disease staging  & nutrition considerations. Clinician’s Brief. March: 89-95. 

IRIS staging of CKD (modified 2019). (n.d.). 

IDEXX SDMA algorythm. (n.d.). 

Grauer, G. (2020, May 21). Early Diagnosis of Chronic Kidney Disease in Dogs & Cats. Retrieved October 21, 2020,

เขียนโดย สพ.ญ ธณัชพร แก้วก๋อง (หมอพัพ) /8 ธันวาคม 2566

เขียนเมื่อ

บทความที่น่าสนใจ

“ไข้หัดแมว  พาโว หรือ โรคลำไส้อักเสบแมว เป็นโรคร้ายที่ต้องระมัดระวัง เพราะโรคนี้พรากชีวิตแมวทุกวัยมานับไม่ถ้วน” โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสชื่...
ภาวะมดลูกอักเสบ(pyometra) คือ สภาวะของมดลูกที่เกิดการอักเสบ มีของเหลวสะสมอยู่ในมดลูก ซึ่งมักพบบ่อยในสุนัขที่ยังไม่ได้ทำหมันและอายุมากขึ้น โดยอาจจะมีสา...